บทความน่าสนใจ

CSR in Europe & UK

ยุโรป

ยุโรปเริ่มมีการให้ความสำคัญต่อ CSR  มาตั้งแต่ การประชุมผู้นำยุโรป ปี พ.ศ. 2544 ที่ได้กำหนดให้บริษัทในยุโรปหันมาใส่ใจกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น และได้กำหนดกรอบกติกาว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (European Framework for CSR) พร้อมกับมีการจัดตั้ง Multi-Stakeholder Forum on CSR ซึ่งเป็นเวทีการหารือของผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาคธุรกิจ สหภาพแรงงาน ประชาสังคม และตัวแทนของคณะกรรมาธิการยุโรป

Multi-Stakeholder Forum on CSRได้บรรลุความเข้าใจเกี่ยวกับ CSR ว่า เป็นความรับผิดชอบต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความสมัครใจและให้มีการ ส่งเสริมการรณรงค์ให้เป็นที่แพร่หลาย แต่ยังไม่เป็นที่ตกลงกันในเรื่องมาตรฐาน การติดตามผลและการจัดทำรายงาน และต่อมาคณะกรรมาธิการยุโรป ได้จัดตั้ง European Alliance for CSR และ มีบริษัทขนาดใหญ่เข้าร่วม เช่น โตโยต้า โฟล์คสวาเก้น ไมโครซอพท์ โททาล จอห์สัน แอนด์ จอห์นสัน ลอยด์ ทีเอสบี และ อินเทล แต่การจัดตั้งองค์กรข้างต้น ได้มีข้อขัดแย้งระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับภาคธุรกิจ โดยกลุ่มนักพัฒนาเอกชน เสนอว่า แนวทางที่คณะกรรมาธิการยุโรปดำเนินการอยู่เป็น soft approach ที่ ไม่มีประสิทธิภาพ จึงได้เรียกร้องให้ออกเป็นกฎระเบียบ และต้องการให้มีการตรวจสอบว่าบริษัทใช้หลักการดังกล่าวจริงหรือไม่ และเรียกร้องให้มีการจัดตั้งผู้ตรวจสอบอิสระ พร้อมทั้งให้บริษัทจัดทำรายงาน จึงแยกออกไปจัดตั้งองค์กรใหม่เรียกว่า European Coalition for Corporate Justice นำโดย Friends of the Earth Europe

ในปัจจุบันคณะกรรมาธิการสภายุโรป ก็ยังยืนยันในความเห็นว่า CSR เป็นเรื่องของความสมัครใจของธุรกิจเอกชน ไม่ใช่เรื่องของภาครัฐ(public affairs) และได้ยึดเอาแนวทางของการดำเนินงานจากมาตรการต่างๆ 3 แห่ง เป็นแนวปฏิบัติ คือ ILO Tripartite Declaration of Principle concerning MNEs and Social Policy  / OECD Guidelines for MNEsและUN Global Compact

การรวมตัวกันของ European Alliance for CSRนั้นได้ส่งผลให้มีการรณรงค์ CSR กันอย่างแพร่หลาย เช่นToyota Motor Europe ได้ตั้งแผนก CSR และได้นำเอาหลักการของ CSR ไปใช้กำกับในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในการผลิตที่ผลิตจากประเทศต่างๆ (จัดการต่อ supply chain) นอกจากนั้นยังได้รวมเอาการคิดค้นเทคโนโลยียานยนต์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจ้างงานและสวัสดิการที่ดีแก่พนักงานด้วย นอกจากนั้น ยังมีผลต่อการจัดตั้ง Business Social Compliance Initiative (BSCI)เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ปัจจุบันมีสมาชิกประกอบด้วย 91 บริษัท ซึ่งมีการจัดการมาตรฐานด้านสังคมในประเทศที่ไปลงทุน โดยกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ (Code of Conduct)

นอกจากองค์กรที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ให้ความสำคัญต่อ CSR เช่น

BusinessEurope/ EuroChambers/ European Association of Craft, Small and Medium-Size Enterprises (UEAPME)/ สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD)

อังกฤษ

ในอังกฤษ รัฐบาลมีส่วนสำคัญในการจัดการดูแลสวัสดิการสังคมและมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีสำหรับการดูแลงาน CSR ควบคู่ไปกับการดูแลงานด้านการค้าและอุตสาหกรรม(คอลัมน์ update , ประชาชาติธุรกิจ , 26 มีนาคม 2550หน้า 42) การเข้าไปมีบทบาทอย่างจริงจรังของรัฐบาลได้เป็นลักษณะสำคัญของอังกฤษที่ผสมผสานแนวทางระหว่างอเมริกาและยุโรป (Moon andGrafski,อ้างแล้ว) สำหรับนโยบายต่อ CSR นี้รัฐบาลได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า “ รัฐบาล(อังกฤษ) เห็นว่า CSR เป็นการจัดการธุรกิจเพื่อสนับสนุนต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(sustainable development) เป็นพื้นฐานที่จำเป็นที่จะบริหารธุรกิจ ที่เป็นการจัดการระหว่างการบริหารทรัพยากรและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ กับผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะบริหารให้ธุรกิจมีกำไรมากที่สุดและมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อย ที่สุดได้อย่างไร (maximizing the benefits and minimizing the downsides) ” (www.csr.gov.uk)

ในช่วงทศวรรษ 1980 อังกฤษได้เริ่มปรับเปลี่ยนจากงาน CSR แบบ Implicit เป็น Explicit (Moon andGrafski, อ้างแล้ว) รัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างกิจกรรมเยาวชน เช่น The Youth Training Scheme under the aegis of the Special Programmes  Unit (CBI) / Business in the Community  (BITC)ในช่วง 1990  ซึ่งเป็นช่วงคลื่นลูกที่สองของงาน CSR เป็น ความรับผิดชอบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ (บริการ)และกระบวนการผลิตและความรับผิดชอบที่มีต่อลูกจ้าง และพัฒนาเป็นคลื่นลูกที่สามที่เป็นความรับผิดชอบต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง กับกิจการ (Stakeholders) และเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการเรียกร้องในเรื่องของ human rights หรือประเด็นสิ่งแวดล้อมของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนและนักลงทุนให้ความสนใจ (Moon andGrafski, อ้างแล้ว)

 ในขณะเดียวกันก็มีวิธิการจัดการต่อแนวคิดที่ขัดแย้งกันในยุโรปว่า CSR นั้นจะเป็นกิจกรรมที่ทำโดยความสมัครใจ หรือต้องจัดทำเป็นรายงาน โดยอธิบาย ว่า CSR นั้น เป็นกิจกรรมอาสาสมัครที่สามารถดำเนินการได้ของธุรกิจเอกชน เป็นการกระทำที่เท่ากับและมากกว่าข้อกำกับในมาตรการต่างๆที่ภาครัฐมีอยู่ เป็นการสนับสนุนทั้งการดำเนินธุรกิจและสังคมไปพร้อมๆกัน และรัฐบาลก็ได้จัดทำรายงานด้าน CSRเป็นรายงานประจำปี ” (www.csr.gov.uk,อ้างแล้ว)

เอกสารเผยแพร่ของสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงบรัสเซลส์ / คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป ,14 พฤศจิกายน 2550 และ www.csr.gov.uk, what is CSR

การค้นคว้าประกอบการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

โดยสุนทร คุณชัยมัง

บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด / soontorn@imageplus.co.th

Share this