กรณีศึกษาในไทย

ความคิดเห็นต่อการรณรงค์ CSR ของไทย

บทบาทของรัฐ

กรณี ของไทย นั้น บทบาทของภาครัฐยังไม่โดดเด่น ไม่มีความชัดเจนในการผลักดัน นำพาเรื่องนี้ในระดับนโยบายสาธารณะ การเริ่มต้นของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม เพิ่งจะเริ่มต้นในช่วงต้นปี 2550 และมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล  รัฐบาลชุดปัจจุบันก็ไม่ได้ดำเนินการต่อเนื่องในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ในขณะที่ ตลท.และเครือข่ายคือสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม นั้น ก็เป็นหน่วยงานอีกแห่งหนึ่งที่ควรจะได้แสดงความพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ศูนย์ข้อมูลเพื่อการณรงค์เรื่อง CSR และ ให้บริการเป็นการทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจงแต่บริษัทจดทะเบียน เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะตอกย้ำบทบาทที่แคบกับความหมายที่แคบของการครอบคลุม ของบรรษัทภิบาลไปพร้อมกันอีกด้วย

บทบาทภาคเอกชน

SCG และ ปตท.บริษัท ซีพี เซเวนอีเลฟเว่น น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของงานด้าน CSR ที่ โดดเด่นกว่าองค์กรเอกชนรายอื่นในประเทศไทย และกรณีการจัดตั้งมูลนิธิกองทุนเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมชุมชนเมือง มาบตาพุดและชุมชนเทศบาลตำบลบ้านฉาง  นั้น พอจะเทียบเคียงได้กับ B/INGO ของลาตินอเมริกา

ภาคประชาสังคมและสื่อ

หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารได้ดีมาตั้งแต่ต้น กลับเป็นของสถาบันไทยพัฒน์และThaiCSR และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น ดร.สุทธิศักดิ์ ไกรสรพรสุธี (แต่ถ้าจะเปรียบกับกรณีของลาตินอเมริกาก็ยังไม่น่าจะได้) ที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นสร้างความสนใจกับองค์กรต่างๆโดยเฉพาะภาคธุรกิจมา โดยต่อเนื่อง เช่นเดียวกับเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN) แต่เครือข่าย SVNน่าจะมีปัญหาในผลที่มีต่อการสร้างกระแสต่อนโยบายของสังคมได้ไม่มากนัก บทบาทที่โดดเด่นและน่าชื่นชมสำหรับเรื่อง CSR ในประเทศไทย นั้น น่าจะเป็นบทบาทของการสร้างสื่อกระตุ้นความสนใจของสื่อหลัก เช่นประชาชาติธุรกิจ และ กรุงเทพธุรกิจ

ข้อเสนอแนะต่อ CSR และการรณรงค์ในประเทศไทย

(1) CSR ที่จะมีพลังต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของสังคม นั้น จะต้องเป็นความรับผิดชอบที่ผูกพันต่อเนื่องจาก process และ ตามข้อกำหนดที่กฎหมาย กติกา ปทัสถานและสภาพสังคมนั้นๆ กำหนด เป็นความรับผิดชอบในเบื้องต้นเป็นกรอบเสียก่อน แล้วจึงควรไปริเริ่มดำเนินการในส่วนที่นอกเหนือจากกรอบข้างต้น แต่ไม่ได้หมายความจะดำเนินการสิ่งที่นอกเหนือจากกรอบเบื้องต้นนั้นไม่ได้ เพียงแต่ว่าการเป็นทั้งเป็นผู้ทำลายและทำร้ายสังคมกับเป็นผู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลและสร้างสรรค์สังคมไปพร้อมๆกันนั้น ก็ย่อมต้องนำผลการกระทำทั้งสองด้านมาหักกลบลบกัน เพื่อจะได้ประเมินถึงความรับผิดชอบต่อสังคม(สุทธิ) ที่ควรจะได้รับการชื่นชมยกย่องจากสังคม หรือควรจะได้รับเกียรติยศและรางวัลหรืออื่นๆที่สังคมส่วนรวมจะตอบแทนให้ ทั้งนี้รวมถึงคุณค่าของภาพลักษณ์หรือ brand หรือใดๆทั้งปวงของผู้ดำเนินงาน ด้วย

ในประเด็นข้างต้น ผู้จัดทำรายงานเห็นด้วยกับหลักการของกลุ่มเอ็นจีโอในยุโรป (friends of the Earth Eurpe) ที่เรียกร้องให้มีการจัดทำรายงาน และตรวจสอบการปฏิบัติงาน CSR ของ บริษัทเอกชนต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของระบบทุนนิยม(ในด้านที่สร้างปัญหาให้กับสังคม) หากพิจารณาในแง่นี้แล้ว คำว่า CSR แท้หรือเทียม นั้นนอกจากจะเป็นการตั้งประเด็นที่ให้องค์ประกอบไม่ครบถ้วนแล้ว ยังเป็นข้อถกเถียงที่หาข้อสรุปไม่ได้แล้ว ยังไม่นำไปสู่การสร้างองค์ประกอบให้งาน CSR ครบถ้วน และเกิดผลที่เป็นพลังต่อสังคมอย่างแท้จริง การนำเสนอประเด็นข้างต้น น่าจะเปิดประเด็นเพื่อการตรวจสอบว่า ระหว่างการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (การบริจาคเพื่อการกุศล) การรับผิดชอบข้อบังคับหรือมาตรฐานเพื่อสังคม และการทำอะไรก็ตามที่มากกว่าที่ว่าข้างต้น นั้น ธุรกิจภาคเอกชน (รวมภาครัฐด้วย) ลองตรวจสอบว่า ปัจจุบัน เรา / ควรที่จะดำเนินให้ครบถ้วนทั้งสามแบบนั้นได้อย่างไร โดยเป็นการเรียกร้องเชิงเรียงลำดับที่ชี้ชวนให้แสดงความรับผิดชอบที่มีแต่ สูงขึ้นๆ(โดยความพยายาม) กรณีเช่นนี้หากผู้ดำเนินการจะหวังประโยชน์ตอบแทนทางการตลาดหรือการอื่นใดผสม ปนเปมาด้วย ก็จะเป็นแค่ในลำดับที่หนึ่งกับสองเท่านั้น

(2) ความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) จะมุ่งไปยังกิจการของรัฐ หรือเอกชน ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาที่ดำรงอยู่ของสังคมของประเทศนั้นๆ เป็นเงื่อนไขหลัก เพียงแต่ว่า ที่มีการเริ่มต้นฮือฮา และใช้คำว่า corporate social responsibility  ก็ เพราะในระบบของโลกทุนนิยม ที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ที่มีธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน กิจการเอกชนได้มีส่วนสร้างและละเลยการจัดการปัญหาในเบื้องต้นเช่นการจ้างงาน สิ่งแวดล้อมและชุมชน จนเป็นปัญหาเป็นวาระสำคัญของบรรดาผู้นำของโลก ดังนั้น หากจะต้องหันกลับไปแก้ไขอย่างจริงจัง ก็ต้องเริ่มต้นจากต้นตอที่ภาคธุรกิจเอกชน

อย่าง ไรก็ตาม หากสภาพทางสังคมบางประเทศ ยังมีความต้องการอื่นที่เดือดร้อนและเป็นปัญหามากกว่า เช่นกรณีของไนจีเรียที่เอกชนและสังคมเห็นสำคัญของการช่วยเหลือสังคมเป็น กิจการเบื้องต้น ก็เป็นเงื่อนไขเฉพาะของไนจีเรีย และข้อคิดเห็นอีกประการหนึ่งที่มีต่อบทบาทของบรรษัทข้ามชาติ ที่ดูเหมือนว่าจะทำหน้าที่ในบทบาทของ CSR ได้ ดีกว่าบริษัทในท้องถิ่น ที่ยังย่ำอยู่กับงานกิจกรรมเพื่อสังคม แบบช่วยเหลือหรือสร้างความสัมพันธ์ นั้น ไม่ใช่เรื่องที่แปลกอะไรเลย ในเมื่อบรรษัทข้ามชาติมีแรงคิด และแรงทุน ที่มากกว่า (ด้วยประการทั้งปวง) ก็ย่อมต้องสร้าง CSR ที่มีคุณค่าให้สังคมมากกว่า แต่หากบรรษัทเหล่านั้น มองเห็นซึ่งประเด็นเหล่านี้แล้วยังดำเนินแต่เพียงงานบริจาคเพื่อการกุศล นั่นคือประเด็นที่ควรตำหนิ เป็นอย่างยิ่ง (ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น)

(3) บทบาทของภาครัฐที่มีต่อ CSR นั้น ผู้จัดทำรายงาน เห็นว่า รัฐจะต้องมาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ 2 บทบาท ด้วยกัน คือ การเป็นศูนย์กลางของการณรรงค์ทั้งในงานเชิงนโยบายและภาคปฏิบัติ เช่นที่หลายประเทศถือปฏิบัติอยู่ แต่อีกด้านหนึ่งภาครัฐก็ยังมีงานรับผิดชอบต่อสังคมโดยงานที่เป็นพื้นฐานและ ด้านบริการต่อสาธารณะ ซึ่งก็จะต้องเร่งสร้างประสิทธิภาพของงานดังกล่าวให้สูงยิ่งขึ้น เป็นเรื่องของ CSR-as-process และเป็นเรื่องของ CSR ที่อิงกับความสำเร็จ (efficiency) เป็นองค์ประกอบด้วย ไม่ใช่มองงาน CSR เป็นแต่เพียงเรื่องของการช่วยเหลือแบบสงเคราะห์สังคมแต่เพียงด้านเดียว

            (4) สำหรับประเทศไทยที่มีลักษณะงานที่กระจัดกระจาย  รัฐบาลควรจะได้เข้ามาทำหน้าที่ประสานองค์กรต่าง ๆ ทั้ง ตลท.และเครือข่าย มหาวิทยาลัย สถาบันไทยพัฒน์ / ThaiCSR /บริษัท ผู้รณรงค์ทั้งบริษัทไทยและบรรษัทข้ามชาติ พร้อมสร้างกลไกการให้การสนับสนุนอย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่นการลดหย่อนภาษี) เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและยกระดับเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการดำเนิน งาน CSR ได้

การค้นคว้าประกอบการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

โดยสุนทร คุณชัยมัง
บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

Share this