บริษัท

ความเข้าใจเบื้องต้น เรื่อง แนวคิด ทฤษฎี และกลไกการทำงานของ CSV ของ Michael E. Porter และ Mark R. Kramer

Introduction   :   พัฒนาการของ Philanthropy and CSR & step forward to CSV

          Porter ได้อธิบายถึงพัฒนาการของการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องของการบริหารกิจการเพื่อสาธารณกุศลและการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ จนพัฒนามาเป็นงานที่เรียกว่า corporate social responsibility หรือ CSR ซึ่งเป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ของบริษัท ตามลักษณะของการเป็นพลเมืองที่ดี (Citizenship เป็นลักษณะของพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่อสังคมมีความกระตือรือร้นที่จะแสดงออกถึงความรับผิดชอบ ฯลฯ) การคำนึงการตอบสนองต่อความต้องการเบื้องต้นหรือพื้นฐานความจำเป็นของสังคม/ชุมชน รวมทั้งการดำเนินธุรกิจและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างยั่งยืน  Porter ได้เสนอความเกี่ยวข้องของประเด็นเหล่านี้โดยเสนอให้ยกระดับการทำงานในด้าน CSR ไปสู่ CSV หรือ creating shared value โดยกำหนดกลยุทธ์ของการบริหารองค์กรให้รับผิดชอบต่อการดำเนินธุรกิจแต่เพียงลำพังนั้นไม่เพียงพอสำหรับการบริการจัดการอีกต่อไปแล้ว Porterปรับปรุงกลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive strategy) ซึ่งเป็นทฤษฎีเดิมที่เสนอไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยรวมเอาผลประโยชน์ของสังคมที่จะได้รับจากการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจที่สามารถวัดเป็นมูลค่าได้ตามคำนิยามของ Creating Shared Value : CSV  โดยถือว่า การรวมเอาประเด็นทางสังคมและกิจการบริษัทเข้าด้วยกัน เป็นการยกระดับการแข่งขันของบริษัท พร้อมๆกับการจัดการทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน เป็นการสร้างความสอดคล้องของยอดขาย การปฏิบัติการของกิจการ และการตอบสนองต่อสังคม  (Porter.  2011 : 5)

          Porter อธิบายว่าพัฒนาการของการดำเนินงานเพื่อสังคมที่กิจการบริษัทเอกชนมีการดำเนินการอยู่ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ 1) การดำเนินงานเพื่อสาธารณกุศล (philanthropy) 2) การดำเนินงานตามความรับผิดชอบที่กิจการเอกชน /กิจการบริษัท มีต่อสังคม (CSR) และ 3) CSV ซึ่งเป็นการประเมินมูลค่าทางธุรกิจของบริษัทและเศรษฐกิจของสังคม ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและความแข็งแรงของสังคม เป็นการนำเอาประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจมากำหนดร่วมเป็นเป้าหมายที่จะสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นทั้งสองด้านไปพร้อมกัน

Share this