กรณีศึกษาของอาฟริกาใต้เป็นตัวอย่างของการจัดการความขัดแย้งด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและเป็นงานในวงกว้าง-ขนาดใหญ่ของกระแสสังคม เพราะเป็นเรื่องที่มีความต่อเนื่องมาจากการเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม และการพัฒนาประชาธิปไตยของคนผิวดำ หลังจากที่รัฐบาลของคนผิวขาว (คนส่วนน้อยของประเทศ) ยอมลงจากอำนาจและร่วมสถาปนาประชาธิปไตยร่วมกันของคนทุกผิวสี

          The Mont Fleur Scenarios เป็นชื่อแคมเปญรณรงค์ของภาคประชาสังคมที่ต้องร่วมกันสร้างทางเดินร่วมเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยเรียกขบวนนี้ว่า Flight of the Flamingo แต่มีเมืองที่ต้องการแนวทางไปพัฒนาความเข้าใจที่มีอยู่ ที่ยังไม่ตัดสินใจร่วมไปกับขบวน คือ กลุ่ม No ให้เปลี่ยนเป็น Yes ตามตัวแบบที่ยกร่างกันเป็นโครงไว้ โดยประเภทแรก คือ กลุ่มหรือเมืองที่จมอยู่กับความเป็นอดีต (Stuck in the Past) กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวดต่อความล้มเหลวในอดีต และความไม่มั่นใจต่ออนาคตว่าจะดีหรือยุ่งยากมากกว่าเดิม เช่น เมือง Ostrich ซึ่งรัฐบาลล้มเหลวในการเจรจาและไม่มีตัวแทน ข้อเสนอของที่ประชุมสำหรับเมืองนี้ คือ การริเริ่มให้มีการจัดการเชิง Governance สร้างความสำเร็จ และสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ประเภทที่สอง กลุ่มหรือเมืองที่ยินดีที่จะร่วมพัฒนา แต่ไม่มีตัวแทนรัฐบาลเข้าร่วมงาน เช่น เมือง Icarus แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเมืองนี้ เร่งจัดการในระดับนโยบายเพื่อสร้างผลงานให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ประเภทที่สาม กลุ่มหรือเมืองที่เข้าร่วมพัฒนาแต่ไม่มีการสร้างผลงานเชิงประจักษ์ เช่น เมือง Lam Duck แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเมืองนี้ คือ การเร่งสร้างผลงานให้เป็นตัวอย่างของการพัฒนา การดำเนินงานตามแคมเปญนี้ ดำเนินไปโดยการปรึกษาหารือ การจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฯลฯ อันเป็นไปตามกระบวนของการมีส่วนร่วมขนาดใหญ่ของภาคประชาสังคม และเป็นไปอย่างเข้มข้นในช่วงก่อนที่มีการก้าวลงจากอำนาจของรัฐบาลผิวขาวและการรับช่วงต่อของรัฐบาลโดยคนผิวดำ

          นอกจากนั้น ในกรณีของอาฟริกาใต้นี้ ยังมีการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อนำเอาความเป็นสังคมเข้ามาร่วมเป็นกลไกของการเปลี่ยนผ่านทางสังคม ด้วยการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรักบี้นานาชาติในปี ค.ศ. 1995 โดยมุ่งหวังที่จะทำให้เรื่องสีผิวที่เป็นประเด็นหลักของความขัดแย้งทางสังคม และชนชั้นได้คลายตัวลง เปิดกว้างให้คนผิวสีเข้าไปเล่นกีฬาชนิดนี้มากขึ้น นำเอานักรักบี้ชาวอาฟริกาใต้ที่เป็นคนผิวดำมาร่วมเป็นนักกีฬาทีมชาติของ
อาฟริกาใต้ในการแข่งขันนานาชาติครั้งนั้นด้วย และการเป็นเจ้าภาพแข่งขันฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 2010 ในสมัยของประธานาธิบดี Jacob Zuma แต่มีการยื่นสมัครและได้รับตัดสินจาก FIFA มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 (สมัยของประธานาธิบดี Thabo Mbeki) ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการอยู่ร่วมกับความหลากหลายกับผู้คนร่วมสังคมทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และโลก รวมทั้งเป็นแผนที่ของการเดินทางและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมขนาดใหญ่ของชาวอาฟริกาทั้งทวีป (Africa on the map and build an African Renaissance) พร้อมกันนี้ รัฐบาลของอาฟริกาใต้ยังได้จัดให้มีการส่งเสริมการสื่อสารประชาสัมพันธ์ Brand South Africa เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ บริการ เมือง และสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่เคยเป็นที่รู้จักของชาวโลกมาก่อนให้เป็นแหล่งสร้างรายได้ทางเศรษฐกิขแขนงใหม่ของประเทศ

…..

เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ “จริยธรรมกับความยั่งยืนของการท่องเที่ยวชุมชน”

วันพุธที่ 24 เมษายน 2567

 

 

Share this

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *