แปลและเรียบเรียงโดย
ฝ่ายข้อมูลสนับสนุน บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด:
5 มีนาคม พ.ศ. 2557
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… สหประชาชาติตั้งกองทุนสภาภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF) ในการประชุมคณะกรรมการที่ อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 19 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 โดย GCF จะแบ่งการจัดการเงินทุนสภาพอากาศเป็น 50:50 เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการบรรเทาผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวในอนาคต และมีความมุ่งมั่นที่จะจัดสรรเงินไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของเงินที่จะใช้สำหรับการปรับตัวให้แก่ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงประเทศที่กำลังพัฒนา, หมู่เกาะ และประเทศในแถบแอฟริกา เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะสามารถช่วยรับมือกับผลกระทบที่เกิดและสร้างความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับสภาพอากาศ จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดกลุ่มที่มีความจำเป็นและมีความต้องการ เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านั้นได้เข้าถึงเงินทุน เพื่อขยายขีดความสามารถและการลงทุน ดังนั้นโครงการ จะถูกสงวนไว้ใช้สำหรับประเทศที่มีความเปราะบางที่สุด คณะกรรมการ GCF มีการจัดการการเข้าถึงโดยอาศัยมุมมองจากการหาสมดุลในทางภูมิศาสตร์ , ความสมเหตุสมผล และความเป็นธรรมตามขอบเขตของประเทศต่างๆ อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาและสภาพภูมิอากาศ ได้ออกมาแนะนำว่า การตัดสินใจแบ่งแย่งการระดมทุนอาจจะกลายเป็นปัญหาในอนาคต หลังงบประมาณ 1 ใน 5 หมดไปอย่างรวดเร็วในการช่วยเหลือ, ปกป้องผู้คนจากสภาพอากาศที่รุนแรง , การเปลี่ยนแปลงในระยะยาวและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล คณะกรรมการมีความตั้งใจที่จะเพิ่มการมีส่วนร่วมและอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดความคิดในการพัฒนาให้มีคาร์บอนต่ำ แต่กลุ่มสีเขียว (Green group) ได้ออกมาเรียกร้องให้ GCF เข้ามามีบทบาทมากเกินไปโดยแย้งว่าอาจนำไปสู่การขาดความโปร่งใสได้ ขณะที่รัฐกลับมีความกังวลว่าความกระตือรือร้นของประเทศที่ร่ำรวย เช่น อเมริกา หรืออังกฤษ ที่ดึงเอาภาคเอกชนเข้ามานั้น จะช่วยลดหน้าที่เงินทุนของตนเองที่ได้มาจากประชาชน นอกจากนี้ยังมีการมองว่าภาคประชาสังคมไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นด้วยกับแนวคิดของ GCF อย่างไรก็ตามความคืบหน้าเป็นไปโดยช้า GCF คาดว่าจะมีช่องทางหาสัดส่วนที่มีมากกว่า 100 พันล้านดอลลาร์ ในเงินทุนสภาพภูมิอากาศที่ได้จากประเทศที่ร่ำรวยและสัญญาว่าจะมีการระดมในปี 2020 เพื่อที่จะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่การตัดสินใจเป็นไปอย่างล่าช้า อีกทั้ง ยังมีประเด็นสำคัญที่ยังไม่ได้ตัดสินใจไม่ว่าจะเป็น วิธีการเข้าสู่กองทุน, การป้องกันทางสังคมและสิ่งแวดล้อม , วิธีการอำนวยความสะดวกแก่เอกชนที่จะมีส่วนร่วมในประเทศผู้รับ, ข้อตกลงและเงื่อนไขสำหรับเงินอุดหนุน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่า GCF จะเป็นองค์กรที่ดีกว่าองค์กรอื่นที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ที่มา: Green Climate Fund aims to allocate half of money for adaptation. (3 มีนาคม 2557). pdf_1394507505