ผลจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อความมั่นคงทางอาหาร เป็นเรื่องสำคัญที่พูดถึงในรายงานของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยประเด็นปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างจริงจังและรวดเร็ว ขณะที่สถานการณ์โลกปัจจุบัน ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมรับมือสำหรับสถานการณ์เลวร้ายที่จะเกิดขึ้น             การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่จะนำไปสู่การต่อสู้กับความหิวโหย โดยวิเคราะห์จาก 10 ปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจที่สำคัญของประเทศ เกี่ยวกับความสามารถในการเลี้ยงประชาชนในภาวะโลกร้อน ได้แก่ เรื่องของความหลากหลายของเมล็ดพันธุ์ที่ลดลงกว่า 75 %, เรื่องเงินสำหรับการปรับตัวและการให้ความช่วยเหลือที่มักครอบคลุมอยู่กับประเทศร่ำรวย, 20 % ของการปรับตัวในประเทศกำลังพัฒนาต้องได้รับจากประเทศที่ร่ำรวย, 80 % ของเกษตรกรรมเผชิญกับฝนที่ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น             รายงานของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ได้กล่าวถึงผลผลิตเฉลี่ยที่จะลดลงเพิ่มขึ้นอีก 2 % ต่อทศวรรษ ตรงกันข้ามกับความต้องการผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น 14 %  ในแต่ละทศวรรษจนถึงปี 2050 โดยเฉพาะประเทศในเขตโซนร้อนจะต้องประสบกับความเสี่ยงที่สูง และด้วยความสามารถในการรับมือที่มีน้อยจะทำให้ความยากจนเพิ่มสูงขึ้น ผลตอบแทนที่ลดลง ขณะที่ความต้องการอาหารมีเพิ่มขึ้น ทำให้ความเสี่ยงในเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นเรื่องสำคัญ ภายใต้การตกลงกันโดยรัฐบาลในการประชุมที่ญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรายงาน IPCC ได้เตือนถึง ราคาอาหารที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 2 เท่าในปี 2030 จากการเพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจะเป็นตัวประเมินของทั่วโลก เกี่ยวกับเงินที่ใช้ในการปรับตัว การเกษตร ชลประทาน การประกันผลผลิต รวมถึงการพัฒนาและการวิจัยการเกษตร ที่ปัจจุบันประเทศยากจนได้รับเพียง 2 % จากเงินที่ขอความช่วยเหลือจากประเทศร่ำรวย              ในด้านนโยบาย ในรายงานได้ยกตัวอย่างประเทศที่มีนโยบายเพิ่มความปลอดภัยทางอาหารแม้ว่าจะมีความยากจน ได้แก่ ประเทศกาน่า, ไนจีเรีย ที่แม้ประเทศจะมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ แต่มีการปรับนโยบายให้ครอบคลุมปกป้องสังคม วิจัยพัฒนาเกษตรของประชาชน มีการเพิ่มศูนย์ภูมิอากาศให้มากขึ้นเพื่อรับมือกับความเสี่ยง เช่น เวียดนามและลาว มีการจัดลำดับความสำคัญ ทั้งการชลประทาน เกษตรกรรม การใช้น้ำสะอาดเพื่อช่วยให้อาหารมีความปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาการปลูกพืช             อย่างไรก็ตามในอนาคตคุณภาพอาหารจะต่ำลงในปี 2050 ประชาชนกว่า 50 ล้านคนจะหิวโหยจากภาวะโลกร้อน ซึ่งประเด็นนี้ถูกพูดถึงค่อนข้างน้อยในรัฐบาลและบริษัทยักษ์ใหญ่ ความหิวโหยและความไม่ปลอดภัยทางอาหารไม่ใช่ผลอย่างเดียวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท้ายที่สุดอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 3-4 องศา ถ้ารัฐบาลดำเนินการเริ่มดำเนินการจะช่วยลดปัญหาความหิวโหยที่เกิดขึ้นได้ นโยบายเป็นทางเลือกที่จะสร้างความแตกต่าง ดังนั้นการลดการปล่อยก๊าซในวันนี้ และสนับสนุนการปรับตัว จะเป็นตัวช่วยให้ลูกหลานเรามีกินต่อไปในอนาคต         ที่มา:

Hot and hungry – how to stop climate change derailing the fight against hunger.  (25 มีนาคม  2557). 

World unprepared for climate damage to food security – Oxfam.  (25 มีนาคม  2557). 

  ————————— แปลและเรียบเรียงโดย ฝ่ายข้อมูลสนับสนุน บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด: 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 pdf_1396578657
Share this

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *