การบริหารงานเรื่องธุรกิจเรือสำราญเพื่อการท่องเที่ยวที่เมือง Cartagena de Indias (คาร์ตะเคนา เดอ อินดีส) ซึ่งเป็นเมืองท่าของ Colombo ประกอบธุรกิจเรือสำราญเพื่อการท่องเที่ยว เป็นแขนงที่เติบโตขยายตัวสูงมากกว่าสาขาอื่น ๆ และเป็นที่นิยมในแถบพื้นที่ของทะเลแคริบเบียน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่ด้วยธุรกิจดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในเมืองแต่ละเที่ยวในจำนวนมาก ทั้งต่อลำเรือและจำนวนโดยรวม ดังนั้น จึงส่งผลทั้งบวกและลบต่อผู้อยู่อาศัยทั้งบริเวณท่าเรือ เมือง และหมู่เกาะต่าง ๆ ที่ด้านหนึ่ง ต้องการความสงบ เป็นส่วนตัว อีกด้านหนึ่ง ก็ได้ประโยชน์จากการจำหน่ายของที่ระลึก และกิจกรรมอื่น ๆ ของเมือง ฯลฯ เมือง Cartagena ซึ่งเมืองหลวงของจังหวัด Bolivar (มีประชากร 900,000 คน-ตัวเลขปี ค.ศ. 2010) เป็นแหล่งที่มีมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมที่ได้รับการรับรองจาก UESCO World Heritage 

          ประเด็นสำคัญของเมือง Cartagena คือ การนำเอาประเด็นการรบกวนต่อชุมชนที่ไม่มีความเกียวข้องโดยตรงกับธุรกิจท่องเที่ยว ความรู้สึกได้ถึงการรบกวนต่อการอยู่อาศัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การถูกรุกล้ำและรบกวนในเรื่องทางสังคมและวัฒนธรรม ฯลฯ มาพัฒนาร่วมไปกับการขยายตัวของธุรกิจเรือสำราญ ซึ่งเป็น 1/5 ของประเภทธุรกิจการท่องเที่ยวของเมืองและประเทศโคลอมเบีย มีสัดส่วนของ GDP มากถึง 45% ของเมือง [แสดงถึงการไม่ไปด้วยกันระหว่างการขยายตัวของธุรกิจกับความสัมพันธ์กับทุนทางสังคม-วัฒนธรรมปัจจุบันของเมือง จนมีผู้ที่กล่าวว่า เป็นตัวอย่างของการเติบโตของเมืองแบบ Gentrification-เมืองที่มีการขยายความงามทางด้านกายภาพและกิจการ แต่สร้างความเสื่อมทรามทางสังคมควบคู่กัน ทั้งนี้ ก็เพราะด้านหนึ่งของเมืองย่าน Bocagrande ที่ที่มีความสวยงานของ Sun and Sand และมีโรงแรม คอนโดมีเนียมแบบบริการเป็นเฉพาะส่วนพร้อมสระว่ายน้ำที่บริการแบบราคาแพง กับอีกย่านหนึ่งที่เป็นแหล่งมรดกของเมือง (Historic Center) ที่ที่มักจะมีการจัดการแสดงกลางแจ้ง-กลางคืน และสร้างภาวะรบกวนต่อผู้อยู่อาศัยเดิม ทำให้คนอยู่อาศัยเดิมย้ายออก และมีคนจากที่อื่นอพยพเข้ามาเป็นผู้อาศัยใหม่

          การจัดการของเมือง Cartagena เริ่มจากการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งประกอบไปด้วย เจ้าของธุรกิจเรือท่องเที่ยว (ในฐานะตัวแทนของนักท่องเที่ยว) ลูกเรือ ผู้อยู่อาศัย (ชุมชนของเมืองในระหว่างที่เรือแวะพักและเข้าเมือง) และผู้ประกอบการที่ได้ประโยชน์โดยตรงจากนักท่องเที่ยวในระหว่างแวะพักและเข้าเมือง เช่น ร้านอาหาร กิจกรรมการแสดง ร้านขายของที่ระลึก รวมทั้งกิจการอาหารสำหรับการล่องเรือออกจากเมืองไป พบว่า นักท่องเที่ยวใช้เวลาเพียง 4-5 ชั่วโมงต่อเข้าไปร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวกลางคืน (Overnight Activities) ต่อการหยุดจอดของเรือต่อ Trip ที่ใช้เวลา 7-10 วัน (การใช้เวลาดังกล่าว เป็นการสะท้อนถึงการตอบสนองของเนื้อหาของกิจกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยว (ต่างไปจากการแวะพักจอดที่ Belize ทึ่นักท่องเที่ยวใช้เวลามากกว่า และนักท่องเที่ยวสะท้อนการรับรู้ถึงความเป็น Destination ตามนัยของอารยธรรม การสำรวจยังพบว่า เจ้าของกิจการและผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจเรือสำราญให้ความสำคัญต่อประเด็นอนุรักษ์น้อยกว่าผู้ประกอบการโรงแรม และกิจกรรมการแสดงและการสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวช่วงกลางคืนมีโอกาสนำเสนอต่อความเป็นเมืองมรดกและความเป็น Destination ที่จะดึงนักท่องเที่ยวใช้เวลาสำหรับการใช้จ่ายมากขึ้น

          เมือง Cartagena ได้จัดทำแผนงานด้าน Governance สำหรับการท่องเที่ยวเพื่อการนี้ โดยจัดทำ The Pathway to Needed Change ประกอบไปด้วย (1) การทบทวนคำจำกัดความของมรดกทางวัฒนธรรม (2) จัดทำ Self-Evaluation Assessment (เป็นการออกแบบที่มีส่วนร่วมจากเทศบาล ชุมชน กลุ่ม/องค์กรทางสังคม และเจ้าของบ้านเรือนและทรัพย์สิน) (3) การสร้างความชัดเจนข้อมูลข่าวสาร (4) การทำงานตามเงื่อนไขและร่วมกับมาตรการของ UNESCO (5) สร้างงานให้เป็นรูปธรรม (6) ยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองทั้งการพัฒนาและตัดสินใจ

          การดำเนินงานข้างต้น ดำเนินไปพร้อม ๆ กับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร คณะกรรมการ และคณะทำงาน รวมทั้งสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมตามไปด้วย

…..

เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ “จริยธรรมกับความยั่งยืนของการท่องเที่ยวชุมชน”

วันพุธที่ 24 เมษายน 2567

 

 

Share this

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *