ตัวแบบของการวิเคราะห์ประเด็นเชิงวิถี – แบบย้อนกลับ เป็นตัวแบบที่เหมาะสำหรับการทบทวนสถานการณ์เพิ่มเติมหลังจากที่มีการจัดทำประเด็นตอบโต้ / หักล้างไปตามข้อเท็จจริงไปแล้ว แต่ข้อมูลจากการชี้แจง / หักล้างดังกล่าว ไม่อาจที่จะ “ยุติ” ประเด็นคำถามทางสังคม (คำถามจากพื้นที่สาธารณะ) จึงเกิดมีการคิดย้อนกลับไปตั้งคำถามว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยเหตุใด- โดยย้อนกลับไปค้นหาแบบละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ดังภาพที่แสดงลักษณะของการคิดแบบย้อนกลับตามภาพต่อไปนี้ \"\"             ตัวแบบนี้ เสนอให้วิเคราะห์ Statement เพื่อจะย้อนกลับไปยังรายละเอียดในแง่มุมต่างๆ โดยให้คำนึงถึง1) Subject (ใครเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการในเรื่องนี้) 2) Conceptual (แนวคิดที่ใช้อธิบายประเด็นเป็นแนวคิดแบบใด – สังคมศาสตร์ / รัฐศาสตร์ / เศรษฐศาสตร์) 3) Object (ผู้ถูกกระทำในที่นี้เป็นใคร – เป็นไปในลักษณะใดตามการกล่าวหา เช่น กลายเป็นผู้ร้าย หรือคนเห็นแก่ตัว ฯลฯ) 4) Strategy (กลยุทธ์การปฏิบัติการต่างๆ ดำเนินการ / สื่อสาร กันอย่างไร) อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้างต้น อาจจะไม่เพียงพอต่อการจัดการแก้ไขปัญหาที่รอบด้าน อาจจะต้องนำเอาวิธีวิเคราะห์การรวมกลุ่มทางสังคมและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม / ขบวนการทางการเมือง มาประกอบด้วย ————————————– 17 เมษายน 2557

ดร.สุนทร คุณชัยมัง

บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ CSR และการบริหารเชิงประเด็น pdf_1397788731
Share this

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *