แปลและเรียบเรียงโดย

ฝ่ายข้อมูลสนับสนุน บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด:

5 มีนาคม พ.ศ. 2557

 

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ความขัดแย้งในยูเครน ปัญหาความขัดแย้งในยูเครน เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนปี 2013 หลังจาก ประธานาธิบดี  วิกเตอร์ ยานูโควิช ของยูเครนปฏิเสธการเซ็นสัญญาการเข้าร่วมเขตการค้าเสรี (FTA)กับยุโรป แล้วหันไปเดินหน้าความสัมพันธ์กับรัสเซียแทน โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่า การเข้าร่วมเขตการค้าเสรีกับยุโรป จะส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ทำกับรัสเซีย ผลจากการเลิก FTA กับยุโรปและไปสานสัมพันธ์กับรัสเซียทำให้ประชาชนบางส่วนออกมาเรียกร้องให้มีข้อตกลงร่วมกับยุโรป ผู้ประท้วงเหล่านี้ถูกเรียกว่ากลุ่ม “Euromaidan” สถานการณ์การประท้วงลุกลามจนเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงหลังประธานาธิบดีได้ออกกฎหมายต่อต้านการชุมนุมประท้วงที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 คน  เกิดความพยายามหาทางออกด้วยวิธีการเจรจา เกี่ยวกับความขัดแย้งภายในประเทศ จนนำไปสู่การที่รัฐสภามีมติถอดถอนประธานาธิบดี วิกเตอร์ ยานูโควิช ออกจากตำแหน่ง และจะจัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ ในวันที่ 25 พฤษภาคม อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในยูเครนกลับไม่ได้คลี่คลายลง ภายหลังยานูโควิช หลบหนีออกนอกประเทศ ตามมาด้วยกองกำลังสนับสนุนฝ่ายรัสเซีย ที่เข้ายึดสถานที่ราชการในบริเวณพื้นที่เขตไครเมีย และยกธงชาติรัสเซียขึ้นมาแทนที่ธงชาติยูเครน จนเกิดเป็นสถานการณ์ตรึงเครียดระหว่างยูเครนกับรัสเซีย  พร้อมด้วยแรงกดดันจากหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็น อเมริกา และสหภาพยุโรป ที่มองว่ารัสเซียละเมิดอธิปไตยเหนือดินแดนยูเครน หลังเข้ายึดและส่งกำลังทหารเข้าไปในบริเวณเขตไครเมียซึ่งชาติต่างๆ พร้อมจะกดดันให้รัสเซียถอนตัวด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ ขณะที่รัสเซียอ้างถึงสิทธิในการปกป้องประชาชนรัสเซียที่อาศัยอยู่ในยูเครน และกล่าวถึงการได้อำนาจของรัฐบาลรักษาการในยูเครนว่าเป็นรัฐประหารที่ขัดรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นยานูโควิชยังถือเป็นผู้นำโดยชอบธรรมของยูเครน  สถานการณ์ตรึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซียยังคงมีขึ้นอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความกดดันและความพยายามในการหาทางออก   pdf_1395626679
Share this

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *