การเมือง

ผมไม่อยากจะกลับอ้างแนวคิดหรือทฤษฎีอะไร หรือของใครมา Back up เกี่ยว กับเรื่องนี้มากนัก เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นนักทฤษฎีที่ไร้สนามรบไป แต่อยากจะตั้งแง่คิดเพื่อการแลกเปลี่ยนกันในแง่มุมต่างๆที่เกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่กำลังตั้งธงขับไล่รัฐบาลสมัครและนอมินีของระบอบทักษิณ จนกระทั่งเกิดกลุ่มทางสังคมขึ้นใหม่ที่นำโดยอาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อดีตแกนนำของพันธมิตรประชาธิปไตย เมื่อครั้งขับไล่รัฐบาลทหารสืบทอดอำนาจการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่ง เท่ากับว่าผู้นำการเคลื่อนไหวในครั้งนั้น ในวันนี้ ยืนอยู่กันสามมุม มุมที่หนึ่ง พล ต. จำลอง ศรีเมือง เป็นหนึ่งในห้าแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นคู่กรณีกับจตุพร พรหมพันธ์ ที่ไปยืนอยู่ซีกรัฐบาลสมัคร พร้อมกับนพ.เหวง โตจิราการ ไปสังกัดกลุ่ม นปก. (แนวร่วมของฝ่ายพรรคพลังประชาชน – อดีตพรรคไทยรักไทยและทักษิณ) ลำพัง แต่การจัดกำลังประชาชนและการนำพาประชาชนไปเคลื่อนไหวในประเด็นใดๆ ที่ฝ่ายแกนนำตั้งธงหรือตั้งประเด็นที่จะเคลื่อนไหว การสร้างประเด็น สร้างความชอบธรรม การสร้างกระบวนการจิตวิทยามวลชน เข้าใจว่าทุกฝ่ายรู้ดี และรู้ทันซึ่งกันและกัน แต่ที่จะต่างกันออกไป ก็คือ การบริหารประเด็นและการรักษาความชอบธรรมที่จะนำพามวลชนไปเคลื่อนไหวให้ได้ใจ ประชาชนโดยรวม นั้น เป็นเรื่องที่ยากกว่า และไม่แน่เสมอไปว่าคนที่มีประสบการณ์การเคลื่อนไหวมวลชนข้างต้นจะชำนาญการไป ทุกครั้ง เพราะสภาพการณ์และเงื่อนไขแวดล้อมจะแตกต่างกันออกไป นั่นหมายความว่า  ประเด็นที่บรรดาแกนนำจะต้องคิดให้หนัก ก็คือ การช่วงชิงจังหวะและโอกาสในการที่จะปักธงในประเด็นต่างๆแทนใจประชาชนคนส่วนใหญ่ (Public) ที่มากกว่าคนที่ม็อบรวมตัวกันอยู่เพียงเท่านั้น  ต่าง หากที่จะเป็นปัจจัยชี้ขาดว่า ข้างหน้าคุณจะนำพามวลชนไปเคลื่อนไหวแทนประชาชนได้อย่างไร ? ในประเด็นนี้ มันเป็นเรื่องของการบริหารประเด็น (Issue Management) ซึ่ง ไม่แน่ใจว่า ตอนที่กลุ่มแกนนำพันธมิตรฯเปลี่ยนประเด็นจากการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และขับไล่นายจักรภพ เพ็ญแข / ทัศนะอันตราย ไปเป็นการขับไล่รัฐบาลสมัครและนอมินี นั้น ใช่ประเด็นที่ประชาชน (Public)ต้องการเป็นลำดับแรก หรือไม่ หากเปรียบเทียบกับปัญหาปากท้อง ราคาน้ำมัน และการแข่งขันกับต่างประเทศ  หรือจะอธิบายประเด็นให้เชื่อมโยงกันอย่างไร ประเด็นอยู่ที่ว่า จะเชื่อมโยงอย่างไร ว่า รัฐบาลแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ไม่ได้ เพราะเป็นรัฐบาลนอมินี แต่ ที่พันธมิตรฯสอบตก เลย ก็คือ การไม่ต้อนรับกลุ่มความเห็นต่าง ซึ่งในข้อเท็จจริง แม้ว่าความคิดเห็นของใครบางคนเหล่านั้น จะมีวาระซ่อนเร้น หรืออย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติต้องนับเป็นพวก ไว้ก่อน และศ่งคนไปเจรจานับญาติไว้ชันใดชั้นหนึ่งก่อน  แต่ ประเด็นนี้อาจจะเป็นเพราะติดนิสัยความเป็นสื่อมวลชน กลับไปขยายความ หรือขึ้นเวทีด่า เตลิดเปิดเปิง ว่า เป็นพวกไม่เข้าท่า ทั้งที่บางคนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องไปยืนข้างรัฐบาลสมัคร พลังประชาชน หรือนอมิมีของทักษิณ การกระทำในลักษณะนั้น เท่ากับไปไล่ต้อนคนส่วนหนึ่งไปยืนอยู่ฝั่งตรงกันข้ามโดยไม่จำเป็น หาก ใครบางคนในแกนนำพันธมิตร เคยทำงานแนวร่วม ในขบวนการภาคประชาชนมาแล้ว ลองนึกตรึกตรองดูให้ดีว่า แนวร่วมนั้น ไม่ใช่กลุ่มที่เห็นตรงกับ “เรา”ในทุกประเด็นเคลื่อนไหว ในทุกขั้นตอนที่ขับเคลื่อน ลองไปนึกย้อนดูให้ดี  “ร้อยบุปผาบานพร้อมพรัก ร้อยสำนักประชันขันแข่ง” ใช้กับการเคลื่อนไหวและการทำงานแนวร่วม และการเคลื่อนไหวมวลชนได้ทุกสนามรบ www.oknation.net/blog/soontorn   pdf_1387343088
Share this

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *