สังคม/ชุมชน

1. ความหมาย

          สฤณี อาชวานันทกุล (http://www.salforest.com/glossary/triple-bottom-line) ให้ความหมายคำว่า Triple Bottom Line เป็นภาษาไทยว่า “ไตรกำไรสุทธิ” ซึ่งเป็นเรื่องของการวัดเป้าหมายความสำเร็จและคุณค่าขององค์กรในด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพิ่มเติมจากการให้ความสำคัญต่อกำไร (Profit) ตามผลประกอบการของธุรกิจ โดยให้ความสนใจเรื่องของคน (People) และสิ่งแวดล้อม – โลก (Planet)ซึ่งเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น

 

2. การรณรงค์และการสร้างมาตรการ

ลำดับ ลักษณะกิจการ

รายการที่ควรพัฒนาเป็นตัวบ่งชี้ถึงความรับผิดชอบ

1

กิจการแบบส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงและสร้างผลตอบแทนแบบลดลง (locusts)

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติ คน สังคม และเศรษฐกิจ

อัตราของการไม่พัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่/ ภูมิภาค

แบบของธุรกิจที่แสดงความไม่ยั่งยืนในระยะยาว

ช่วงเวลาที่ไม่อาจจะคาดการณ์ได้จากความเสียหายจะยุติ

ความโน้มเอียงที่จะส่งผลต่อระบบสังคม ระบบแวดล้อมและเศรษฐกิจ

การไม่สามารถประเมินผลกระทบเชิงลบที่จะเกิดขึ้น

2

กิจการแบบส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำและ มีผลตอบแทนแบบลดลง (Caterpillars)

ส่งผลเสียหายไปทั่วในระดับชุมชน

แสดงผลของการดำเนินธุรกิจแบบมุ่งเน้นตามหน้าที่

อัตราความเสียหายจะขึ้นอยู่กับการสามารถจัดการกำกับ

ธุรกิจประเภทนี้จะไม่ยั่งยืนหากประชากรของโลกเพิ่มขึ้น 7 – 10 พันล้านคน

สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่กิจการแบบยั่งยืนได้

ริเริ่มแบบบุกเบิกแบบยั่งยืนได้

3

กิจการแบบส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ แต่สร้างผลตอบแทนสูง (Butterflies)

ปรับตัวจากความยั่งยืนของธุรกิจในระดับเล็ก ๆ และขยายขนาดขึ้นไป

ยึดมั่นในวาระของ CSR + SD

แยกตัวออกมาจากธุรกิจประเภท Locusts and caterpillars

สร้างงานแบบเครือข่าย

สู้กับกิจกรรมที่จะนำไปสู่การถดถอย

สร้างความสามารถใหม่ๆที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้บริโภค

คำนึงถึงการสะท้อนกลับของสังคม

4

กิจการแบบส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง แต่สร้างผลตอบแทนสูง (Honeybees)

สร้างความสามารถใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้บริโภค

คำนึงถึงการสะท้อนกลับของสังคม

มีกลยุทธ์จัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ความสามารถของความยั่งยืนจะขึ้นอยู่กับการยกระดับ

วิวัฒนาการของการอยู่ร่วมกับสังคมจะเป็นหุ้นส่วนแบบค่อยเป็นค่อยไปตามกระบวนการทางสังคม

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ คน สังคม สถาบันและทุนทางวัฒนธรรม เป็นไปแบบยั่งยืน

สรุปบทเรียนมาจากความล้มเหลวของตัวแบบทั้ง Locusts, Caterpillars and Butterflies

 

 

3. แนวคิดและทฤษฎี

          Triple Bottom Line เป็นแนวคิดที่ John Elkington ได้นำเสนอต่อสาธารณะในหนังสือเรื่อง Cannibalswith forks : the triple bottom line of 21st century businessเมื่อปี 1997 โดยเขาเห็นว่า การอธิบายเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีการคำนึงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมที่กล่าวถึงใน Sustainable Development ที่เขียนไว้โดย Brundtland Commission เมื่อปี 1987 นั้น เป็นนามธรรมที่กว้างเกินไปไม่อาจที่จะเกิดขึ้นเป็นจริงได้ Elkingtonจึงสร้าง “กรอบ” (Frame) และมาตรการชี้วัดเพื่อแสดงเป็นผลขั้นต่ำที่องค์กรนั้น ๆ ควรจะได้ถือปฏิบัติ โดยเน้นไปยังการจัดการกำไร (Profit) การจัดการผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อม (Planet) และการสนับสนุนต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม (People) โดยให้องค์กรนั้น ๆ จัดทำเป็นแผนงาน มาตรการ และแสดงผลลัพธ์ต่อเรื่องทั้งสาม 

          Triple bottom line จะมุ่งเน้นไปยังการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่การจัดการเพื่อความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ 7 เรื่องด้วยกัน ประกอบด้วย (1) Markets (2) Values (3) Transparency (4) Life- circle Technology (5) Partnerships (6) Time และ (7) Corporate Governanceทั้งนี้ก็เพราะว่า ในศตวรรษที่ 21 พื้นที่ทางการตลาดจะให้ความสนใจต่อการจัดการเพื่อความยั่งยืน – แบบการเปลี่ยนผ่านทางสังคม (ไม่หวนย้อนกลับไปแบบไปยอมรับการทำลาย หรือไปยอมรับในความการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืน เปรียบเสมือนการเปลี่ยนผ่านของ Thixotropic) เรื่องของคุณค่า – คุณค่าทางสังคมและความเป็นมนุษย์จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเป็นสากล ความโปร่งใส – จะเป็นตัวเร่งการขับเคลื่อนที่สำคัญและจะเป็นพลังที่จะขยายตัวไปสู่เป็นความโปร่งใสระหว่างประเทศ ประเด็นความโปร่งใสที่เป็นเรื่องสากลนี้ จะเหมือนกับการใส่ใจต่อความสำคัญต่าง ๆ ของการดำเนินธุรกิจจะเป็นที่รับรู้โดยทั่วไป ไม่มีใครจะควบคุมไว้เป็นการเฉพาะ วงจรอายุของเทคโนโลยี – TBL ของกิจการต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกับ Triple bottom line ไปตามลักษณะห่วงโซ่ของกิจการไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรมรวมทั้งการใช้งาน การเป็นหุ้นส่วน – รูปแบบใหม่ของการร่วมมือจะเป็นไปทั้งแบบระหว่างบริษัทและบริษัทกับองค์กรแบบอื่น (รัฐ/ เอ็นจีโอ) เวลา – การให้สำคัญต่อเวลาจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่เน้นการจัดการเวลาปัจจุบัน (เน้นกว้าง/ ครอบคลุมให้มาก) เป็นการคำนึงถึงระยะไกล บริษัทภิบาล – แต่ก่อนเรื่องความร่วมรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท แต่ต่อจากนี้ทุกเรื่องจะเกี่ยวข้องกับเราตามมิติของความเกี่ยวข้องของที่ตั้งและ Supply chains

 

4. การอธิบายผลผลิตและผลลัพธ์

          Triple Bottom Line เป็นแนวทางการรณรงค์ที่มุ่งจะสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นกรอบกำหนดงานในขั้นต่ำที่บริษัทต่าง ๆ ควรจะถือปฏิบัติเป็นเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน การสร้างผลสัมฤทธิ์ ที่สามารถอธิบายได้ทั้งส่วนที่เป็นผลผลิตและผลลัพธ์ของการดำเนินงาน

 

รวบรวมเรียบเรียงโดย :CSR Communication Department

 

 

Share this

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *