สิ่งที่เขาทำคือ เจาะกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นประชากร 70% ของประเทศ ไปเรียนรู้ชีวิตของพวกเขา ไปทำความรู้จักเป้าหมายในชีวิตของพวกเขา ไปทำความรู้จักกับความฝัน ของพวกเขา จากนั้นก็เอาปัญหา ความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตรวมถึงในการทำมาหากิน มาตั้งเป็นโจทย์ แล้วออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์และบริการมาขายสินค้าของ Proximity มองเผินๆ ดูเป็นของบ้านๆ ไร้ซึ่งสุนทรีย์ด้านการออกแบบ (หากมองด้วยสายตาของคนนิยมงานดีไซน์เก๋ๆ จากโลกตะวันตก) แต่สินค้าของพวกเขา เช่น เครื่องปั๊มน้ำ โซลาเซล มีความหมายกับชาวบ้านมากมายนัก เพราะมันคือสินค้าราคาโคตรถูก (ค่าออกแบบและเงินเดือนพนักงาน ได้รับมาจากการขอทุน ต้นทุนสินค้าจึงเหลือแค่ค่าผลิตเท่านั้น) แต่คุณภาพดี ชาวบ้านผู้มีฐานะต้อยเข้าถึงได้ และสินค้าเหล่ามีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีประสิทธิภาพในการผลิตมากขึ้น รวมถึงมีรายได้มากขึ้น   pdf_1411959601
Share this

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *