นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า ด้วยมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อการศึกษาของสถาบันฯที่กำลังศึกษาอยู่ว่า มีการปักธงไว้แล้วว่าจะมีการสร้างโรงงานเหล็กแบบครบวงจรขึ้นในพื้นที่อำเภอ แหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี สถาบันฯขอเรียนว่า การศึกษาโครงการที่สถาบันฯกำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ เป็นการศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาในระดับนโยบายของรัฐบาลว่าจะพัฒนาหรือไม่ พัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กแบบครบวงจรในประเทศไทย หากจะพัฒนาก็ต้องนำเอาข้อสังเกตของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2553 มาประกอบการพิจารณา คือ (1) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมและ บริการและ (2) การศึกษาการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเศรษฐกิจเชิงนิเวศน์ ซึ่งเป็นผลการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมา ประกอบการพิจารณา หากไม่พัฒนา ก็ต้องพิจารณาทางเลือกอื่นประกอบ เพราะระบบเศรษฐกิจต้องแบกรับภาระต้นทุนนำเข้าของเหล็กที่ผันผวนไปตามราคา ตลาดโลก ก็จะต้องมีการเร่งรุดพัฒนาเศรษฐกิจแขนงอื่นแทนเพื่อสร้างรายได้ให้กับระบบ เศรษฐกิจเป็นการชดเชยซึ่งกันและกัน เช่น การส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว
การศึกษาในครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่ศึกษาสองแห่ง คือ ใน ท้องที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เพราะในการศึกษาในคราวเดียวกันนี้มีหลายเรื่องประกอบกัน มีทั้งการพิจารณาองค์ประกอบสำหรับย่านอุตสาหกรรม การสร้างท่าเรือน้ำลึก การพัฒนาเมืองใหม่และวิสาหกิจชุมชน ที่จำเป็นจะต้องพิจารณาองค์ประกอบและรายละเอียดในหลายๆเรื่องเข้าด้วยกันและ เปรียบเทียบซึ่งกันและกัน เพื่อประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมว่าจะดำเนิน การในระดับนโยบายเช่นใด ไม่ใช่เรื่องการศึกษาในระดับโครงการของผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่ง ว่าจะสร้างโรงงานเหล็กอย่างไร หรือเป็นการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อนำเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเพื่อขออนุญาตก่อสร้างโรงงาน
การ ศึกษาครั้งนี้ สถาบันฯได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดในทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ และยึดเอาข้อแนะนำจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเป็นแนวทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเศรษฐกิจเชิงนิเวศน์ ซึ่งสถาบันฯได้กำหนดเป็นรายละเอียดของกรอบการศึกษาให้มีการแก้ไขปัญหาใน พื้นที่ศึกษาไปพร้อมกันกับการศึกษาการพัฒนาเมืองใหม่ เช่น การจัดการน้ำ ก็จะมีการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วม และการขาดแคลนน้ำ หรือศึกษาเรื่อง การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ด้วยพัฒนาการเลี้ยงกุ้งให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นและมีมาตรฐานสินค้าในการส่ง ออก รวมทั้งปัญหาอื่นๆในท้องถิ่นเช่นการจัดการต่อปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง หรือการจัดการระบบนิเวศน์จากการทำนากุ้ง เป็นต้น
อีก เรื่องหนึ่งที่สถาบันฯให้ความสำคัญ ก็คือ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทั้งในระดับนโยบายและในระดับชุมชน โดยในระดับชุมชน ได้กำหนดให้บริษัทที่ปรึกษาจะต้องจัดให้การเสวนาย่อยกับชุมชน 2 รอบ และจัดให้มีการประชุมอบรมเพื่อให้ความรู้เรื่องการพัฒนาการเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และการประชุมสาธารณะ ตลอดจนการถ่ายทอดผลการศึกษาในแต่ละระยะต่อสื่อในชุมชนท้องถิ่นและสื่อในส่วน กลาง โดยให้นำเอาความคิดเห็นที่สะท้อนมาจากการมีส่วนในแต่ละระยะไปปรับปรุงการ ศึกษาเป็นการเพิ่มเติมตลอดการศึกษาของคณะผู้ศึกษา
สถาบันฯ ขอเรียนว่า แม้ว่ารัฐบาลจะมีมติไม่พัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กขึ้นในพื้นที่ใดเลยก็ตาม ผลการศึกษาในครั้งนี้ จะเป็นผลประโยชน์ต่อชุมชนที่จะนำไปประกอบการจัดทำแผนในการพัฒนาชุมชนท้อง ถิ่นของตนเอง และขอยืนยันว่าการศึกษาครั้งนี้เป็นเรื่อง จะ “พัฒนา หรือ ไม่พัฒนา” อุตสาหกรรมเหล็ก ไม่ใช่จะสร้างโรงงานเหล็ก
………………………………………
รายละเอียดติดต่อเพิ่มเติม
ฝ่ายที่ปรึกษา 1
0-2541-4591-2
บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิชั่น จำกัด
ที่ปรึกษาในโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้การยอมรับโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กแบบยั่งยืน
pdf_1387337857